ความสำคัญของประวัติการแพ้ยา

ความสำคัญของประวัติการแพ้ยา

การแพ้ยา (Drug allergy) คือ ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่เกิดจากการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอย่างจำเพาะต่อยา มักเป็นปฏิกิริยาที่ไม่สามารถคาดเดาได้ และไม่เกี่ยวข้องกับขนาดของยา

อาการแพ้ยา สามารถเกิดได้ในหลายระบบ ได้แก่

  1. ระบบผิวหนัง เช่น ผื่นคัน ลมพิษ ตัวแดง ตุ่มน้ำพองเป็นต้น
  2. ระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจเหนื่อย หอบ หลอดลมตีบ ปอดอักเสบ เป็นต้น
  3. ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ ความดันตก หมดสติ เป็นต้น
  4. ระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง อาเจียน ตับอักเสบ เป็นต้น

อาการแพ้ยาที่พบบ่อย คือ อาการผิดปกติทางผิวหนัง เช่น เป็นผื่นแดงเหมือนเป็นลมพิษ อาการบางอย่างพบได้ไม่บ่อยแต่รุนแรง เช่น โรคสตีเว่นจอห์นสันซินโดรม ผู้ป่วยจะมีอาการผื่นแพ้ที่รุนแรงทั่วร่างกาย ตาอักเสบ มีแผลพุพองในปากและอวัยวะเพศ เมื่อเป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตหรือพิการสูง เช่น ตามองไม่เห็น

ผู้ป่วยที่ไม่รู้ตัวว่าแพ้ยานั้นไม่สามารถป้องกันอาการแพ้ได้ ส่วนผู้ที่ทราบถึงการแพ้ยาของตนเอง วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดที่ตนแพ้ โดยมีข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพ้หรืออันตรายจากการแพ้ยาที่สามารถทำได้ ดังนี้

  1. แจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบถึงอาการแพ้ โดยควรตอบคำถามหรือระบุอย่างชัดเจนในประวัติการรักษา และบอกให้แพทย์ทราบถึงการแพ้ยาเสมอเมื่อเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ใด ๆ ก็ตาม
  2. ใส่ข้อมือสำหรับแจ้งเตือนอาการแพ้ยา เป็นสร้อยข้อมือที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพ้ยาของผู้ป่วย ช่วยให้รับการรักษาได้อย่างถูกวิธีและทันท่วงทีเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้น

อย่านิ่งนอนใจ กับอาการผิดปกติที่เกิดกับร่างกายแม้จะน้อยนิดก็ตาม เพราะอาการแพ้ยาและผลข้างเคียงจากการใช้ยาอันตรายกว่าที่คิด และอย่าหยุดยาเองหรือปล่อยให้อาการรุนแรงก่อนสายเกินไป อาจเหนี่ยวนำให้เกิดโรคใหม่หรือส่งผลให้อวัยวะมีความผิดปกติและเสียชีวิตได้

ดังนั้นโปรแกรมคลินิกที่ดี จึงต้องสามารถบันทึกประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยได้ และแสดงประวัติการแพ้ยาให้แพทย์ผู้รักษาเห็นเสมอในการทำการรักษาหรือจ่ายยาให้ผู้ป่วย